วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การลงเสียงหนัก-เบาของคำ


การลงเสียงหนัก-เบาของคำ



 
ภาษาไทยมีการลงเสียงหนัก-เบาของคำ

        การลงเสียงหนัก เบาของคำในภาษาไทย จะมีการลงเสียงหนัก-เบาของคำในระดับคำซึ่งมีมากกว่าสองพยางค์ และการลงเสียงหนัก-เบาของคำในระดับประโยค โดยพิจารณาในแง่ของไวยากรณ์ และเจตนาของการสื่อสาร เมื่อพิจารณาในแง่ของไวยากรณ์การออกเสียงคำภาษาไทยมิได้ออกเสียงเสมอกันทุก พยางค์ กล่าวคือ ถ้าคำพยางค์เดียวอยู่ในประโยค คำบางคำก็อาจไม่ออกเสียงหนัก และถ้าถ้อยคำมีหลายพยางค์ แต่ละพยางค์ก็อาจออกเสียงหนักเบาไม่เท่ากัน นอกจากนี้หน้าที่และความหมายของคำในประโยคก็ทำให้ออกเสียงคำหนักเบาไม่เท่า กัน


การลงเสียงหนัก เบาของคำ   การลงเสียงหนัก-เบาของคำสองพยางค์ขึ้น  มีดังนี้ 
    ๑.ถ้าเป็นคำสองพยางค์ จะลงเสียงหนักที่พยางค์ที่สอง เช่น คนเราต้องมีมานะ  (นะ เสียงหนักกว่า มา)
    ๒.ถ้าเป็นคำสามพยางค์ ลงเสียงหนักที่พยางค์ที่สาม และพยางค์ที่หนึ่ง หรือ พยางค์ที่สองด้วยถ้าพยางค์ที่หนึ่งและพยางค์ที่สองมี  
        สระยาวหรือมีเสียงพยัญชนะท้าย เช่น ปัจจุบันเขาเลิกกิจการไปแล้ว (ลงเสียงหนักที่ ปัจ,บัน,กิจ,การ)  
    ๓. ถ้าเป็นคำสี่พยางค์ขึ้นไป ลงเสียงหนักที่พยางค์สุดท้าย ส่วนพยางค์อื่น ๆ ก็ลงเสียงหนัก-เบาตามลักษณะส่วนประกอบของ     
        พยางค์ที่มีสระยาวหรือมีเสียงพยัญชนะท้าย เช่น ทรัพยากร (ลงเสียงหนักที่ ทรัพ, ยา, กร) 

การลงเสียงหนัก เบาของคำ
   การลงเสียงหนัก-เบาตามหน้าที่และความหมายของคำในประโยค


   ๑.คำที่ทำหน้าที่เป็น ประธาน กริยา กรรม หรือคำขยาย จะออกเสียงหนัก
           เช่น น้องพูดเก่งมาก  (ออกเสียงเน้นหนักทุกพยางค์)
 
   ๒.ถ้าเป็นคำเชื่อมจะไม่เน้นเสียงหนัก
           เช่น  น้องพูดเก่งกว่าพี่  (ออกเสียงเน้นหนักทุกพยางค์ แต่ไม่ออกเสียงเน้นคำ กว่า)
 

   ๓.คำที่ประกอบด้วยสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์อย่างเดียวกัน ออกเสียงหนัก-เบา ต่างกันแล้วแต่ความหมายและหน้าที่ของคำนั้น
          เช่น  คุณแม่กะจะไปเชียงใหม่กะคุณพ่อ  (กะ คำแรก ออกเสียงหนัก เพราะถือเป็นคำสำคัญในประโยค  ส่วน 
กะ คำที่สอง   
     

ออกเสียงเบากว่า กะ คำแรก เพราะเป็นคำเชื่อม 
   เมื่อพิจารณาในแง่ของเจตนาของการสื่อสาร การออกเสียงคำภาษาไทยมิได้ออกเสียงเสมอกันทุกคำ กล่าวคือ จะขึ้นอยู่กับผู้พูดว่าจะต้องการเน้นคำใด หรือต้องการแสดงอารมณ์ความรู้สึกอย่างใดจึงเน้นคำ ๆ นั้นหนักกว่าคำอื่น 
การออกเสียงหนัก - เบาของคำในระดับประโยค  
     ๑.ผู้พูดอาจเลือกเน้นคำบางคำในประโยคได้ต่าง ๆ กันเพื่อให้ผู้ฟังสนใจเป็นพิเศษ หรือเพื่อส่งสารบางอย่างเป็นพิเศษ           เช่น  น้อยชอบนันท์ไม่ใช่ชอบนุช  (ออกเสียงเน้นหนักที่ นันท์) 
     ๒.ผู้พูดอาจเลือกเน้นคำใดคำหนึ่งตามความรู้สึก อารมณ์ หรือความเชื่อที่เกิดขึ้นในขณะส่งสาร
           เช่น  แน่ละ  เขาดีกว่าฉันนี่ (ออกเสียงเน้นหนักที่ ดี แสดงว่าผู้พูดมิได้คิดว่า เขาดี เพียงแต่ต้องการประชด)




การไม่เปลี่ยนแปลงรูปคำ



การไม่เปลี่ยนแปลงรูปคำ 

        คำในภาษาไทยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปคำเมื่อนำไปใช้ในประโยค เพื่อแสดงความสัมพันธ์กับคำอื่นในประโยค และไม่ต้องเปลี่ยนรูปคำ เพื่อแสดงเพศ พจน์ หรือกาล ในเมื่อคำไทยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปคำเพื่อบอกเพศ พจน์ หรือกาล  และบอกความสัมพันธ์กับคำอื่นในประโยค  เราสามารถทราบความหมายของคำและความสัมพันธ์กับคำอื่นได้จากบริบท 

บริบท หมายถึง ถ้อยคำที่ปรากฏร่วมกับคำที่เรากำลังพิจารณา หรือสถานการณ์แวดล้อมในขณะที่กล่าว หรือเขียนคำ ๆ นั้น


     วิธีการพิจารณาความหมายของคำจากบริบท
   ๑.พิจารณาจากคำที่ปรากฏร่วมกัน  เช่น น้องสาวถามพี่ว่าเพื่อนพี่คนสูง ๆ สวมแว่นตาคลอดหรือยัง (พี่ย่อมเข้าใจได้ว่าเพื่อนพี่ที่น้องถามถึงเป็นเพื่อนผู้หญิง เพราะคำกริยา คลอดใช้แก่ประธานที่เป็นเพศหญิงเท่านั้น)

   ๒.พิจารณาจากหน้าที่ของคำ เช่น  เด็กดีเรียนดี  (ดี คำแรกขยายคำนาม เด็ก ดี คำที่สอง ขยายกริยา เรียน เพราะคำขยายจะอยู่ข้างหลังคำหลัก หรือคำที่ถูกขยาย)
   ๓.พิจารณาความหมายของคำจากคำที่ปรากฏร่วมกัน เช่น ขัด มีความหมายว่า ติด  ขวางไว้ไม่ให้หลุดออก  เหน็บ  ไม่ทำตาม  ฝ่าฝืน  ขืนไว้  ถูให้เกลี้ยง  ถูให้องใส  ไม่ใคร่จะมี  ฝืดเคือง  ไม่คล่อง  ไม่ปกติ เมื่อ ขัด ปรากฏในประโยค เราก็จะทราบความหมายได้ว่า ขัด ในประโยค นั้น ๆ หมายความว่าอย่างไรโดยพิจารณา
ความหมายของคำจากคำที่ปรากฏร่วมกัน    ดังนี้  เขาชอบขัดคำสั่งเจ้านาย  (ขัด หมายถึง ฝ่าฝืน)
           เธอช่วยเอารองเท้าคู่ดำไปขัดให้หน่อย  (ขัด หมายถึง ถูให้เกลี้ยง ถูให้ผ่องใส)
           วันนี้ไม่รู้เป็นอย่างไรจะทำอะไรก็ขัดไปหมด  (ขัด หมายถึง ไม่คล่อง)
   ที่เราทราบความหมายของคำว่า ขัด ได้ก็เพราะคำอื่น ๆ ที่ปรากฏร่วมกับคำว่า ขัด ในประโยค หรืออีกนัยหนึ่ง บริบทของคำว่า ขัด นั่นเอง
   ๔.พิจารณาจากเจตนาของผู้พูด เช่น

         สามีกล่าวให้ภรรยาฟังว่าเลขานุการของเขามีความสามารถในการทำงานเป็นอย่างยิ่ง  ภรรยาก็กล่าวว่า  แหม เก่งจริงนะ  

      สามีต้องอาศัยบริบท คือ สังเกตสีหน้าท่าทางของภรรยาว่า คำว่า เก่ง ของภรรยาหมายความว่าอย่างไร ภรรยาชมเลขานุการด้วยความจริงใจ หรือพูดประชดประชัน 

                                             เด็กคนหนึ่งพูดว่า คุณแม่ ผู้ฟังรู้ว่า คุณแม่ หมายความว่าอย่างไร แต่จะไม่เข้าใจเลยว่า ผู้พูดพูดคำนั้นเพื่ออะไรนอกจากจะพิจารณาจากบริบท ผู้พูดอาจพูดว่า คุณแม่ เพื่อเตือนให้น้อง ๆ รู้ว่ามารดากำลังเดินมา หรือเพื่อเรียกมารดาของตน หรือเพื่อตอบคำถามของครูว่า ใครมาส่งที่โรงเรียน หรืออื่น ๆ ได้อีกมาก

                                             หัวหน้าสั่งลูกน้องว่า ช่วยหยิบแฟ้มมาให้ผมหน่อยครับ  เมื่อลูกน้องถือแฟ้มเข้ามา หัวหน้าเห็นเข้า ก็ร้องบอกว่า เอาอีกแฟ้มหนึ่งครับ เมื่อลูกน้องกลับออกไปถือแฟ้มเข้ามา ๒ แฟ้ม  หัวหน้าเห็นแต่ไกล ดุว่า ผมให้เอาอีกแฟ้มหนึ่ง
 จะเห็นว่า คำสั่งของหัวหน้ามีความกำกวม อาจหมายความอย่างที่หัวหน้าต้องการ หรืออย่างที่ลูกน้องเข้าใจก็ได้ แต่ถ้าหัวหน้ากล่าวให้มีบริบทว่า เอาอีกแฟ้มหนึ่ง ไม่ใช่แฟ้มนี้ คำพูดก็จะไม่กำกวม

การวางคำขยายไว้ข้างหลังคำหลัก




การวางคำขยายไว้ข้างหลังคำหลัก
      คำขยายในภาษาไทยจะวางไว้ข้างหลังคำหลักหรือคำที่ถูกขยายเสมอ  การวางคำขยายจะเกิดในกรณีที่ผู้พูดหรือผู้เขียนมีความต้องการจะบอกกล่าวข้อความเพิ่มเติมในประโยค ก็หาคำมาขยายโดยการวางคำขยายไว้ข้างหลัง คำที่ต้องการขยายความหมายมักจะเป็นคำนาม คำกริยา ดังนั้น คำขยายจึงอยู่หลังคำที่ถูกขยายหรือคำหลัก จะเรียงลำดับ ดังนี้ 

 ๑. คำนาม (คำหลัก) + คำขยาย เช่น บ้านเพื่อน แขนขวา (บ้าน แขน เป็นคำหลัก ส่วนเพื่อน ขวา เป็นคำขยาย)
  ๒. คำกริยา (คำหลัก) + คำขยาย เช่น กินจุ เดินเร็ว (กิน เดิน เป็นคำหลัก ส่วนจุ เร็ว เป็นคำขยาย)
      คำขยาย หรือคำที่ทำหน้าที่ขยาย แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ ๑) คำที่ทำหน้าที่ขยายนาม เป็นคำชนิดต่าง ๆ เช่น คำนาม  
   
       คำสรรพนาม คำลักษณนาม คำบอกจำนวน เป็นต้น และเมื่อขยายแล้วจะเกิดเป็นกลุ่มคำนามหรือนามวลี เช่น ละครเพลง ร่มใน  

      ตะกร้า เรือ ๕ ลำ ๒) คำที่ทำหน้าที่ขยายกริยา เป็นคำชนิดต่าง ๆ เช่น คำกริยา คำช่วยหน้ากริยา คำบอกจำนวน คำลักษณนาม  เป็นต้น และเมื่อขยายแล้วจะเป็นกลุ่มคำกริยา หรือกริยาวลี เช่น หอมฟุ้ง หมุนติ้ว ประมาณ ๕ กิโลกรัม

      ถ้าคำหลัก หรือคำที่ถูกขยายเป็นคำนามที่ทำหน้าที่ประธาน หรือกรรม และเป็นคำกริยาที่ทำหน้าที่กริยาของประโยคที่ต้องการ   

      เนื้อความเพิ่มขึ้นก็จะหาคำมาขยายโดยวางเรียงต่อจากคำหลัก 

   จึงมีรูปแบบการเรียงคำ ดังนี้ คำหลัก (คำนาม,คำกริยา) + คำขยาย 

เสียงสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์เป็นหน่วยภาษา

เสียงสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์เป็นหน่วยภาษา



เสียงสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์เป็นหน่วยภาษา
         ภาษาไทยมีเสียงสระ พยัญชนะและวรรณยุกต์เป็นหน่วยภาษา หน่วยเสียงที่ใช้ในภาษาไทยแบ่งได้เป็น ๓ ประเภท คือ หน่วยเสียงสระ หน่วยเสียงพยัญชนะ และหน่วยเสียงวรรณยุกต์ หน่วยเสียง เป็นเสียงสำคัญที่ใช้ในภาษาใดภาษาหนึ่ง เป็นเสียงซึ่งทำให้คำมีความหมายต่างกันได้  
  
             นักภาษาศาสตร์จึงให้เสียงสระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์เป็นหน่วยภาษา เนื่องจากแต่ละเสียงเป็นเสียงสำคัญทำให้คำมีความหมายต่างกัน ทั้งหน่วยเสียงสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ เป็นหน่วยเสียงที่มีความสำคัญทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนไปได้

         หน่วยเสียงสระในภาษาไทยมี ๒๑ หน่วยเสียง เป็นสระเดี่ยว ๑๘ เสียง  แบ่งเป็นสระสั้น ๙ เสียง สระยาว ๙ เสียง และสระประสม ๓ เสียงเท่านั้น ไม่แบ่งเป็นสระสั้น สระยาวเนื่องจากการออกเสียงสระประสมสั้น หรือยาวไม่มีนัยสำคัญ กล่าวคือ ไม่ทำให้ความหมายของคำแตกต่างกัน เหมือนกับเสียงสระเดี่ยวที่แบ่งเป็นสระสั้น สระยาว การออกเสียงสระประสมสั้น หรือยาวก็ไม่ทำให้ความหมายเปลี่ยนไป อย่างไรก็ตามในการเขียนได้กำหนดเป็นมาตรฐานว่าต้องเขียนคำบางคำด้วยสระสั้น คำบางคำต้องเขียนด้วยสระยาว เช่น เจี๊ยะ เพี๊ยะ ผัวะ เขียนรูปสระสั้น แต่ต้องเขียนคำ เช่น เสือ เกือก เมีย เสีย เลีย ด้วยสระยาวเท่านั้น

        หน่วยเสียงพยัญชนะไทย มี ๒๑ เสียง แต่มีรูปถึง ๔๔ รูป เสียงพยัญชนะที่ปรากฏมีทั้งพยัญชนะเดี่ยว และพยัญชนะควบกล้ำ (ซึ่งเสียงที่สองจะเป็น ร ล ว เท่านั้น) แต่ส่วนใหญ่จะใช้พยัญชนะเดี่ยวขึ้นต้นคำมากกว่า ส่วนพยัญชนะตัวสะกดไม่มีพยัญชนะควบกล้ำเลย 
        หน่วยเสียงวรรณยุกต์ มี ๕ เสียง คือ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี และเสียงจัตวา แต่มีเครื่องหมายแทนเสียงวรรณยุกต์เพียง ๔ รูปเท่านั้น  คือ   ไม้เอก  ไม้โท ไม้ตรี และไม้จัตวา เครื่องหมายวรรณยุกต์ไม่ได้ใช้แทนเสียงวรรณยุกต์นั้น ๆ ตรงตัวเสมอไป เพราะ ต้องเปลี่ยนแปรไปตามกลุ่มของพยัญชนะว่าเป็น อักษรกลาง อักษรสูง หรืออักษรต่ำรวมทั้งคำเป็น คำตาย สระสั้น-สระยาว และกฎการผันวรรณยุกต์

ภาษาวรรณยุกต์

ภาษาวรรณยุกต์



ภาษาวรรณยุกต์
          ภาษาไทยเป็นภาษาวรรณยุกต์ ภาษาวรรณยุกต์เป็นภาษาที่มีการไล่เสียงของคำ ในภาษาไทยมีการไล่เสียงวรรณยุกต์ หรือการผันวรรณยุกต์ ได้ ๕ เสียง ได้แก่ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี และเสียงจัตวา การที่ภาษาไทยผันไล่เสียงได้นี้ ทำให้มีคำใช้มากขึ้น การไล่เสียงสูง ต่ำ ทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนไปด้วย เช่น มา  ม้า  หมา มีความหมายแตกต่างกัน  ถ้าออกเสียง คำว่า ม้า เป็น หมา  ความหมายก็จะเปลี่ยนไปด้วย 

         นอกจากนี้ยังทำให้คำในภาษาไทยมีความไพเราะ เพราะระดับเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ ของคำทำให้เกิดเป็นเสียงอย่างเสียงของดนตรี โดยที่เสียงวรรณยุกต์มีการแปรเปลี่ยนความถี่ของเสียง ได้แก่ เสียงวรรณยุกต์สามัญมีระดับเสียงกลาง ๆ และจะคงอยู่ระดับนั้นจนกระทั่งปลาย ๆ พยางค์  เสียงวรรณยุกต์เอกจะมีต้นเสียงกลาง ๆ แล้วจะลดต่ำลงมาอย่างรวดเร็วแล้วคงอยู่ในระดับนี้จนปลายพยางค์ เสียงวรรณยุกต์โทมีต้นเสียงระดับเสียงสูงแล้วลดระดับเสียงลงต่ำอย่างรวดเร็ว ที่ปลายพยางค์ หรืออาจจะเปลี่ยนสูงขึ้นจากระดับต้นพยางค์นิดหน่อย ก่อนจะลดระดับเสียงลงอย่างรวดเร็วก็ได้ เสียงวรรณยุกต์ตรีมีลักษณะเด่นที่มีระดับเสียงสูงโดยจะค่อย ๆ สูงขึ้นทีละน้อยจากต้นพยางค์จนสิ้นสุดพยางค์  และเสียงวรรณยุกต์จัตวามีต้นเสียงระดับเสียงต่ำแล้วลดลงเล็กน้อยก่อนจะ เปลี่ยนเสียงขึ้นอย่างรวดเร็วที่ปลายพยางค์


      วรรณยุกต์ของไทยมีคุณค่า ดังในบทประพันธ์ของอัจฉรา ชีวพันธ์ ที่กล่าวถึงคุณสมบัติของภาษาวรรณยุกต์ที่เป็นภาษาดนตรีมีความไพเราะ ทำให้เกิดคำใหม่มีความหมายใหม่ และการใช้เสียงวรรณยุกต์เน้น ช่วยเน้นย้ำความรู้สึกต่าง ๆ ของ การสื่อสารให้ชัดเจนมีชีวิตชีวามากขึ้น  ดังนี้

                             วรรณยุกต์ของไทยมีคุณค่า        ช่วยนำพาเสียงดนตรีดีไฉน
                     วรรณยุกต์ใช้เปลี่ยนปรับได้ฉับไว         ความหมายคำก็เปลี่ยนไปได้มากมาย
                     ตัวอย่างปาใส่ไม้เอกเสกเป็นป่า           แปลงเป็นป้าใช้ไม้โทก็เหลือหลาย
                     เสกสรรสร้างเสือ เสื่อ เสื้อได้ง่ายดาย    แสนสบายแสนเสนาะเหมาะเจาะดี
                     วรรณยุกต์สูงต่ำนำความรู้สึก               ล้วนล้ำลึกย้ำไปได้ศักดิ์ศรี
                     เช่น ต้าย-ตาย ว้าน-หวาน อีก ดี๊-ดี       ฮิ้ว-หิว ก็บ่งชี้ไปได้ชัดเจน

ภาษาไทยเป็นภาษาคำโดด

ภาษาไทยเป็นภาษาคำโดด


ภาษาไทยเป็นภาษาคำโดด
        นักภาษาศาสตร์จัดให้ภาษาไทยอยู่ในภาษาตระกูลคำโดด คือภาษาที่อุดมไปด้วยคำพยางค์เดียว เช่น คำที่เกี่ยวกับญาติพี่น้อง ได้แก่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ต่อมาเกิดการยืมคำจากภาษาต่างประเทศจึงมีคำหลายพยางค์ใช้ เช่น มารดา บิดา เสวย ดำเนิน ออกซิเจน คอมพิวเตอร์ ในที่สุดก็สร้างคำขึ้น ใช้เองจากคำพยางค์เดียว และคำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศ เป็นการเพิ่มคำขึ้นใช้ในภาษาเป็นคำหลายพยางค์ ได้แก่ คำซ้ำ คำซ้อน คำประสม คำสมาส เช่น เด็ก ๆ เท็จจริง ไข่ดาว วิทยาศาสตร์
      
     ลักษณะพิเศษของคำไทยซึ่งไม่มีในภาษาอื่น มีดังนี้

     ๑.ภาษาไทยมีคำลักษณนามที่ใช้บอกลักษณะของคำนาม เพื่อให้ทราบสัดส่วนรูปพรรณสัณฐาน เช่น ใช้ วง เป็นลักษณนามของ  
        แหวน นามวลีที่มี ลักษณนามอยู่ด้วย จะมีการเรียงคำแบบ นามหลัก + คำบอกจำนวน + คำลักษณนาม   เช่น แมว ๓ ตัว

     ๒.ภาษาไทยมีคำซ้ำ คำซ้อนที่เป็นการสร้างคำเพิ่มเพื่อใช้ในภาษา เช่น ใกล้ ๆ หยูกยา

     ๓.ภาษาไทยมีคำบอกท่าทีของผู้พูด เช่น ซิ ละ นะ เถอะ

     ๔.ภาษาไทยมีคำบอกสถานภาพของผู้พูดกับผู้ฟัง เช่น คะ ครับ จ๊ะ ฮะ 

การไม่เปลี่ยนแปลงรูปคำ


การไม่เปลี่ยนแปลงรูปคำ 

        คำในภาษาไทยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปคำเมื่อนำไปใช้ในประโยค เพื่อแสดงความสัมพันธ์กับคำอื่นในประโยค และไม่ต้องเปลี่ยนรูปคำ เพื่อแสดงเพศ พจน์ หรือกาล ในเมื่อคำไทยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปคำเพื่อบอกเพศ พจน์ หรือกาล  และบอกความสัมพันธ์กับคำอื่นในประโยค  เราสามารถทราบความหมายของคำและความสัมพันธ์กับคำอื่นได้จากบริบท 

บริบท หมายถึง ถ้อยคำที่ปรากฏร่วมกับคำที่เรากำลังพิจารณา หรือสถานการณ์แวดล้อมในขณะที่กล่าว หรือเขียนคำ ๆ นั้น


     วิธีการพิจารณาความหมายของคำจากบริบท
   ๑.พิจารณาจากคำที่ปรากฏร่วมกัน  เช่น น้องสาวถามพี่ว่าเพื่อนพี่คนสูง ๆ สวมแว่นตาคลอดหรือยัง (พี่ย่อมเข้าใจได้ว่าเพื่อนพี่ที่น้องถามถึงเป็นเพื่อนผู้หญิง เพราะคำกริยา คลอดใช้แก่ประธานที่เป็นเพศหญิงเท่านั้น)

   ๒.พิจารณาจากหน้าที่ของคำ เช่น  เด็กดีเรียนดี  (ดี คำแรกขยายคำนาม เด็ก ดี คำที่สอง ขยายกริยา เรียน เพราะคำขยายจะอยู่ข้างหลังคำหลัก หรือคำที่ถูกขยาย)
   ๓.พิจารณาความหมายของคำจากคำที่ปรากฏร่วมกัน เช่น ขัด มีความหมายว่า ติด  ขวางไว้ไม่ให้หลุดออก  เหน็บ  ไม่ทำตาม  ฝ่าฝืน  ขืนไว้  ถูให้เกลี้ยง  ถูให้องใส  ไม่ใคร่จะมี  ฝืดเคือง  ไม่คล่อง  ไม่ปกติ เมื่อ ขัด ปรากฏในประโยค เราก็จะทราบความหมายได้ว่า ขัด ในประโยค นั้น ๆ หมายความว่าอย่างไรโดยพิจารณาความหมายของคำจากคำที่ปรากฏร่วมกัน    ดังนี้  เขาชอบขัดคำสั่งเจ้านาย  (ขัด หมายถึง ฝ่าฝืน)
           เธอช่วยเอารองเท้าคู่ดำไปขัดให้หน่อย  (ขัด หมายถึง ถูให้เกลี้ยง ถูให้ผ่องใส)
           วันนี้ไม่รู้เป็นอย่างไรจะทำอะไรก็ขัดไปหมด  (ขัด หมายถึง ไม่คล่อง)
   ที่เราทราบความหมายของคำว่า ขัด ได้ก็เพราะคำอื่น ๆ ที่ปรากฏร่วมกับคำว่า ขัด ในประโยค หรืออีกนัยหนึ่ง บริบทของคำว่า ขัด นั่นเอง
   ๔.พิจารณาจากเจตนาของผู้พูด เช่น

         สามีกล่าวให้ภรรยาฟังว่าเลขานุการของเขามีความสามารถในการทำงานเป็นอย่างยิ่ง  ภรรยาก็กล่าวว่า  แหม เก่งจริงนะ  

      สามีต้องอาศัยบริบท คือ สังเกตสีหน้าท่าทางของภรรยาว่า คำว่า เก่ง ของภรรยาหมายความว่าอย่างไร ภรรยาชมเลขานุการด้วยความจริงใจ หรือพูดประชดประชัน 

                                             เด็กคนหนึ่งพูดว่า คุณแม่ ผู้ฟังรู้ว่า คุณแม่ หมายความว่าอย่างไร แต่จะไม่เข้าใจเลยว่า ผู้พูดพูดคำนั้นเพื่ออะไรนอกจากจะพิจารณาจากบริบท ผู้พูดอาจพูดว่า คุณแม่ เพื่อเตือนให้น้อง ๆ รู้ว่ามารดากำลังเดินมา หรือเพื่อเรียกมารดาของตน หรือเพื่อตอบคำถามของครูว่า ใครมาส่งที่โรงเรียน หรืออื่น ๆ ได้อีกมาก

                                             หัวหน้าสั่งลูกน้องว่า ช่วยหยิบแฟ้มมาให้ผมหน่อยครับ  เมื่อลูกน้องถือแฟ้มเข้ามา หัวหน้าเห็นเข้า ก็ร้องบอกว่า เอาอีกแฟ้มหนึ่งครับ เมื่อลูกน้องกลับออกไปถือแฟ้มเข้ามา ๒ แฟ้ม  หัวหน้าเห็นแต่ไกล ดุว่า ผมให้เอาอีกแฟ้มหนึ่ง
 จะเห็นว่า คำสั่งของหัวหน้ามีความกำกวม อาจหมายความอย่างที่หัวหน้าต้องการ หรืออย่างที่ลูกน้องเข้าใจก็ได้ แต่ถ้าหัวหน้ากล่าวให้มีบริบทว่า เอาอีกแฟ้มหนึ่ง ไม่ใช่แฟ้มนี้ คำพูดก็จะไม่กำกวม

การเรียงคำแบบ ประธาน กริยา กรรม


การเรียงคำแบบ  ประธาน กริยา กรรม
      
           ภาษาไทยเรียงคำแบบประธาน กริยา กรรม เมื่อนำคำมาเรียงกันเป็นประโยค
ประโยคทั่ว ๆ ไปในภาษาจะมีลักษณะสามัญ จะมีการเรียงลำดับ ดังนี้  นาม กริยา นาม นามที่อยู่หน้ากริยา เป็นผู้ทำกริยา มักอยู่ต้นประโยค ทำหน้าที่เป็นประธาน ส่วนคำนามที่บอกผู้รับกริยา มักอยู่หลังคำกริยานั้นทำหน้าที่เป็นกรรม ด้วยเหตุนี้ประโยคสามัญในภาษาไทยจึงมักเรียงคำแบบ ประธาน กริยา กรรม   ด้วยเหตุนี้ประโยคสามัญในภาษาไทยจึงมักเรียงคำแบบ ประธาน กริยา กรรม
นักภาษาศาสตร์จึงจัดให้ภาษาไทยอยู่ในประเภทภาษาที่เรียงคำแบบ ประธาน กริยา กรรม
      อย่างไรก็ดีมีประโยคในภาษาอยู่ไม่น้อยที่ดูเหมือนว่าจะเปลี่ยนลำดับคำได้โดยไม่เปลี่ยนความหมาย

 ตัวอย่าง
                  ๑. ก. เขาเป็นญาติกับตุ้ม            
                      ข. ตุ้มเป็นญาติกับเขา                  ๒. ก. แม่เอาน้ำใส่กระติก              
                      ข. แม่เอากระติกใส่น้ำ                   ๓. ก. ดินเปื้อนกระโปรง                
                      ข. กระโปรงเปื้อนดิน                  ๔. ก. แดงและดำไปโรงเรียน        
                      ข. ดำและแดงไปโรงเรียน
                  ๕. ก. ติ่งเหมือนต้อย                   
                       ข. ต้อยเหมือนติ่ง
 ประโยค ก ในตัวอย่าง มีความหมายไม่ต่างกับ ประโยค ข ทั้ง ๆ ที่ลำดับคำต่างกัน

         นอกจากนี้บางประโยคอาจเปลี่ยนลำดับคำได้หลากหลายโดยที่ความหมายยังคงเป็นเช่นเดิม ตัวอย่าง
                 ๑. เขาน่าจะได้พบกับคุณเจตนาที่บ้านคุณพ่ออย่างช้าพรุ่งนี้
                 ๒. คุณเจตนาน่าจะได้พบเขาที่บ้านคุณพ่ออย่างช้าพรุ่งนี้
                 ๓. พรุ่งนี้อย่างช้าคุณเจตนาน่าจะได้พบเขาที่บ้านคุณพ่อ
                 ๔. อย่างช้าพรุ่งนี้เขาน่าจะได้พบกับคุณเจตนาที่บ้านคุณพ่อ
                 ๕. ที่บ้านคุณพ่อพรุ่งนี้อย่างช้าเขาน่าจะได้พบกับคุณเจตนา
       จะเห็นได้ว่าทุกประโยคสื่อความหมายอย่างเดียวกันไม่ว่าจะเป็นประโยค ใดก็บอกให้ทราบว่าผู้พบกัน คือ เขากับคุณเจตนา  สถานที่พบ คือ บ้านคุณพ่อ และเวลาที่พบ คือ พรุ่งนี้อย่างช้า สิ่งที่ต่างกันออกไปบ้างในประโยคทั้ง ๕ ประโยค คือ การเน้นผู้รับสาร จะรู้สึกได้ว่าคำที่อยู่ต้นหรือท้ายประโยคเป็นคำที่ผู้ส่งสารให้ความสำคัญมากกว่าคำที่อยู่กลาง ๆ ประโยค

คำไทย 7 ชนิด



คำในภาษาไทย
คำในภาษาไทย มี ๗ ชนิด ดังนี้
๑.  คำนาม คือ คำที่ใช้เรียกชื่อ บุคคล สัตว์ สิ่งของ สถานที่
คำนาม แบ่งออกเป็น ๕ ชนิด ดังนี้
     ๑.๑  นามทั่วไป หรือสามานยนาม เป็นคำนามที่ไม่ชี้เฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น คน นักเรียน บุรุษไปรษณีย์ กีฬา
     ๑.๒  นามชื่อเฉพาะ หรือวิสามานยนาม เป็นชื่อเฉพาะของบุคคล หรือสถานที่ เช่น สมศักดิ์ สุดา มีนบุรี ฉะเชิงเทรา
     ๑.๓  นามบอกลักษณะ หรือลักษณนาม เป็นคำนามบอกลักษณะ เช่น ผล ตัว อัน แท่ง  ใบ
     ๑.๔  นามบอกหมวดหมู่ หรือสมุหนาม เป็นคำนามบอกหมวดหมู่ เช่น โขลง ฝูง หมู่ เหล่า
     ๑.๕  นามบอกอาการ หรืออารการนาม เป็นคำที่เกิดจากคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ที่มีคำว่า การ หรือ ความนำหน้า เช่น การวิ่ง ความดี ความจริง
๒.  คำสรรพนาม คือ คำที่ใช้เเทนคำนาม เพื่อไม่ต้องกล่าวคำนามนั้นซ้ำๆ
คำสรรพนาม แบ่งออกเป็น ๗ ชนิด ดังนี้
๒.๑  บุรุษสรรพนาม เป็นสรรพนามที่ใช้เเทนนาม มี ๓ ชนิด ดังนี้

        สรรพนามบุรุษที่ ๑ ใช้เรียกแทนผู้พูด เช่น ข้าพเจ้า ฉัน ดิฉัน ผม
        สรรพนามบุรุษที่ ๒ ใช้เรียกแทนผู้ฟัง เช่น เธอ ท่าน คุณ
        สรรพนามบุรุษที่ ๓ ใช้เรียกเเทนผู้ถูกกล่าวถึง เช่น มัน เขา ท่าน
๒.๒ สรรพนามชี้ระยะ เป็ฯสรรพนามที่กำหนดให้เรารู้ว่า คน สัตว์ สิ่งของ หรือ สถานที่ที่กล่าวถึงนั้นอยู่ในระยะใกล้ไกลเพียงใด เช่น
        นี่ ใช้กับ สิ่งที่อยู่ใกล้ที่สุด
        นั่น ใช้กับ สิ่งที่อยู่ไกลหรือห่าวออกไป
๒.๓  สรรพนามใช้ถาม ใช้เเทนคำนามที่ผู้ถามต้งอการคำตอบ ได้แก่ อันไหน สิ่งใด ใคร อะไร เช่น
        เธอชอบอันไหน
        คุณเลือกสิ่งใดในตู้นี้
๒.๔  สรรพนามบอกความไม่เจาะจง ใช้เเทนคำนามที่กล่าวถึง โดยไม่ต้องการคำตอบ ได้แก่ ใคร อะไร สิ่งใด หรืออาจจะใช้คำซ้ำ เช่น
        ฉันไม่เห็นใครขยันอย่างเขา
        รู้สิ่งใดหรือจะสู้รู้วิชา
๒.๕  สรรพนามบอกความชี้ซ้ำ ใช้เเทนคำนามที่กล่าวมาก่อนเเล้ว และต้องการกล่าวซ้ำอีกโดยไม่ต้องเอ่ยคำนามนั้นอีกครั้ง ได้แก่ บ้าง ต่าง กัน เช่น
        ประชาชนต่างไปลงคะเเนนเสียงเลือกผู้เเทนราษฎร (ความหมายแยกแต่ทำในสิ่งเดียวกัน)
๒.๖  สรรพนามเชื่อมประโยค ใช้เเทนคำนามที่อยู่ข้างหน้า และเมื่อต้องการกล่าวซ้ำ ทำหน้าที่เชื่อประโยค ๒ ประโยค เข้าด้วยกัน ได้แก่ ที่ ซึ่ง อัน ผู้ เช่น
        คนที่เดินมาเป็นน้องชั้น
        เมื่อเเยกประโยคจะได้ ดังนี้ คนเดินมา และ น้องฉัน ส่วนคำว่า ที่ เเทนคำว่า คน
๒.๗  สรรพนามใช้เน้นนามตามความรู้สึกของผู้พูด ใช้หลังคำนามเพื่อบอกความรู้สึกที่มีต่อบุคคลที่กล่าวถึง เช่น
        เด็กๆ แกหัวเราะเสียงดัง (บอกความรู้สึกเอ็นดู)
        คุณแอมเธอดีกับทุกคน (บอกความรู้สึกยกย่อง)
๓.  คำกริยา คือ คำที่แสดงอาการ หรือสภาพ หรือการกระทำในประโยค บางคำมีความหมายสมบูรณ์ แต่บางคำต้องอาศัยคำอื่นมาประกอบ หรือใช้คำประกอบคำอื่นเพื่อให้ความหมายชัดขึ้น
คำกริยา แบ่งออกเป็น ๕ ชนิด ดังนี้
๓.๑  กริยาที่มีความหมายสมบูรณ์ เรียกว่า อกรรมกริยาเช่น เดิน วิ่ง ร้องไห้
๓.๒  กริยาที่ต้องอาสัยกรรมมาทำให้สมบูรณ์ เรียกว่า สกรรมกริยาเช่น ทำ ซื้อ กิน
๓.๓  กริยาที่ช่วยให้กริยาอื่น มีความหมายชัดเจนขึ้น เรียกว่า กริยานุเคราะห์เช่น คง จะ น่า แล้ว อาจ นะ ต้อง
๓.๔  กริยาที่ต้องอาศัยส่วนเติมเต็มเพื่อให้มีความหมายสมบูรณ์ ส่วนเติมเต็มนี้ไม่ใช้กรรม คำกริยาดังกล่าว ได้แก่ เป็น เหมือน คล้าย เท่า คือ
๓.๕  กริยาที่ทำหน้าที่คล้ายนาม อาจเป็นประธาน กรรม หรือบทขยายประโยค คำกริยาชนิดนี้มักจะมีคำว่า การเช่น พูด อย่างเดียวไม่ทำให้งานสำเร็จหรอก

๔. คำวิเศษณ์
 คือ คำที่ช่วยขยายคำอื่น ให้มีเนื้อความชัดเจนยิ่งขึ้น
หน้าที่ของคำวิเศษณ์ มีดังนี้
๔.๑  ประกอบคำนาม เช่น คนงาม ชายหนุ่ม มะพร้าวอ่อน ผ้าบาง
๔.๒  ประกอบคำสรรพนาม เช่น เขาสูง เธอสวย มันดุ
๔.๓  ประกอบคำกริยา เช่น วิ่งเร็ว อยู่ไกล นอนมาก

๔.๔  ประกอบคำวิเศษณ์ เช่น อากาศร้อนมาก เธอดื่มน้ำเย็นจัด

๕. คำบุพบท คือ คำที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงคำหนึ่ง หรือกลุ่มคำหนึ่งให้สัมพันธ์กับคำอื่นหรือกลุ่มคำอื่น เพื่อบอกสถานที่ เวลา แสดงอาการ หรือเเสดงความเป็นเจ้าของ เช่น คำว่า กับ แก่ แต่ ต่อ จาก เพื่อ โดย จน บน ใต้ กลาง ของ สำหรับ ระหว่าง เฉพาะ เช่น
      เเม่ทำเพื่อลูก              “เพื่อ”    เป็นบุพบทเเสดงอาการ
      เขามาเมื่อเช้านี้           “เมื่อ”    เป็นบุพบทนอกเวลา
      ลูกชายนั่งอยู่ข้างพ่อ    “ข้าง”   เป็นบุพบทบอกสถานที่
      ฉันเดินกับเขา               “กับ”    เป็นบุพบทบอกความเกี่ยวเนื่องกัน


๖.
  คำสันธาน
 คือ คำที่ใช้เชื่อมประโยคกับประโยค ข้อความที่มีคำสันธานเชื่อมอยู่นั้นมักจะเเยกออกได้เป็นประโยคมากกว่าหนึ่งประโยค เช่น
        เเม่เต่าเดินเร็วแต่ลูกเต่าเดินช้า
        ติ๊กและต๊อกเป็นเด็กมีน้ำใจ

        ครูให้อภัยเขาเพราะเขาสำนึกผิด
        บ้านเเละโรงเรียนควรร่วมมือกันแก้ปัญหาเรื่องเด็ก
๗.  คำอุทาน คือ คำที่เปล่งออกมาเพื่อเเสดงอารมณ์ หรือความรู้สึกของผู้พูด ส่วนมากจะไม่มีความหมายตรงตามถ้อยคำ แต่จะมีความหมายทางการเน้นความรู้สึกและอารมณ์ของผู้พูดเป็นสำคัญ
คำอุทาน แบ่งออกเป็น ๓ ชนิด คือ
๗.๑  คำอุทานบอกอาการ ใช้บอกอาการในการพูดจากัน เช่น
       โธ่! ไม่น่าเลย                                     โอ๊ย! น่ากลัวจริง
       เอ๊ะ! ทำอย่างนี้ได้อย่างไร                 ตายแล้ว! ทำไมเป็นอย่างนี้
คำอุทานบอกอาการจะมีเครื่องหมายอัศเจรีย์ ( ! ) กำกับอยู่ คำอุทานบอกอาการนี้ จะพูดออกมาเพื่อเเสดงอารมณ์ของผู้พูด เช่น ดีใจ เสียใจ ตกใจ แปลกใจ ฯลฯ
๗.๒  คำอุทานในบทร้อยกรอง คำอุทานเหล่านี้จะปรากฎอยู่ในบทร้อยกรอง เช่น อ้า โอ้ เอย เอ๋ย เฮย แล แฮ นา นอ ฯลฯ  ใช้เเทรกลงในถ้อยคำเพื่อความสละสลวย เช่น
                            โอ้ดวงเดือนก่ำฟ้า                     ชวนฝัน ยิ่งเอย
                   ในพฤกษ์จับเเสงจันทร์                      ป่ากว้าง
                   หมู่เเมลงเพรียกหากัน                        ดุจเพื่อน รักนา
                   ป่าปลอบผู้อ้างว้าง                            ปลดเศร้าอุราหมอง
                                                                                  จตุภูมิ วงษ์แก้ว
๗.๓ อุทานเสริมบท ใช้กล่าวเป็นการเสริมคำในการพูดเพื่อเน้นความหมายให้ชัดเจนขึ้น ทำให้สนุกในการออกเสียงให้น่าฟังขึ้น เช่น
      เธอไม่สบายต้องกินหยูกกินยานะ
      ช่วยหยิบถ้วยโถโอชามให้ด้วย
      เข้ามาดื่มน้ำดื่มท่าเสียก่อน
      ทำไมบ้านช่องถึงสกปรกอย่างนี้

วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

คำมูล ในวิชาภาษาไทย

คำมูล
คำมูล
คำที่เกิดจากการประสมของโครงสร้างคำ และเป็นคำที่มีความหมาย ผู้ฟังและผู้อ่านฟังแล้วอ่านแล้วเข้าใจว่าหมายถึงอะไร หรือสิ่งใด หรืออย่างไร คำนั้นจะเป็นคำไทย หรือคำที่มาจากภาษาอื่นก็ได้ เรียกว่า คำมูล ทั้งสิ้น
คำมูลแต่ละคำจะมีความหมาย คำมูลคำหนึ่งมักมีความหมายอย่างหนึ่ง แต่มีอยู่บ้างที่คำคำเดียว รูปลักษณ์อย่างเดียวมีหลายความหมาย เช่น ติด มีความหมายว่า ข้องอยู่ ไปไม่ได้ เกาะอยู่ ทำให้แน่น ฯลฯ หรือคำหลายคำมีรูปลักษณ์หลายอย่างแต่มีความหมายอย่างเดียว เช่น สตรี นารี ยุพา กัญญา หมายถึง ผู้หญิง
เราสามารถแบ่งคำมูลออกได้เป็น
·
คำมูลพยางค์เดียว
·
คำมูลหลายพยางค์
คำมูลพยางค์เดียว
คำที่เปล่งออกมาเพียงครั้งเดียว และมีความหมายชัดเจนในตัว เช่น รัก หลง ไม่ ไป เงิน จริง ปลอม ก๊ก ฟรี โชว์ เดิน
นาม คน ไก่ ข้าว ช้อน (ไทยแท้)
ครีม บุญ กรรม ก๊ก (มาจากภาษาอื่น)
สรรพนาม ฉัน เขา ท่าน สู ตู (ไทยแท้)
คุณ อั๊วะ ลื้อ (มาจากภาษาอื่น)
กริยา กิน นอน เห็น ยก (ไทยแท้)
เดิน เซ็ง โกรธ (มาจากภาษาอื่น)
วิเศษณ์ แดง ดำ นิ่ม คด (ไทยแท้)
ฟรี เก๋ เพ็ญ (มาจากภาษาอื่น)
บุพบท ใน นอก เหนือ ใต้ (ไทยแท้)
สันธาน แต่ และ ถ้า (ไทยแท้)
อุทาน โอ๊ย ว้าย (ไทยแท้)
ว้าว โธ่ (มาจากภาษาอื่น)

คำมูลหลายพยางค์
เป็นคำที่เปล่งออกมาเกิน 1 ครั้ง รวมกันจึงเข้าใจความหมาย ถ้าหากแยกเสียงที่เปล่งออกมาเป็นช่วง ๆ จะไม่มีความหมาย เช่น ประตู มะละกอ วิทยุ กระต่าย กระดาษ แจกัน
นาม กระจง ตะไคร้ จิ้งหรีด (ไทยแท้)
กุญแจ โซดา กะลาสี (มาจากภาษาอื่น)
สรรพนาม ดิฉัน กระผม กระหม่อม (ไทยแท้)
กริยา เขม่น กระหยิ่ม สะดุด ละล่ำละลัก (ไทยแท้)
เสวย บรรทม ประสูติ (มาจากภาษาอื่น)
วิเศษณ์ ตะลีตะลาน ถมึงทึง ทะมัดทะแมง (ไทยแท้)
ประเสริฐ จรัส ขจี (มาจากภาษาอื่น)
บุพบท,สันธาน กระทั่ง ฉะนั้น (ไทยแท้)
อุทาน อุเหม่ โอ้โฮ (ไทยแท้)
อนิจจา อพิโธ่ ปัดโธ่ (มาจากภาษาอื่น)
คำที่สร้างจากคำมูล
คำที่เกิดขึ้นโดยการสร้างคำจากคำมูล จะแบ่งตามรูปลักษณะได้ดังนี้
1.
คำประสม
2.
คำซ้อน
3.
คำซ้ำ
4.
คำสมาส สนธิ

คำประสม
หลักสังเกตคำประสม

  :
สังเกตได้ดังนี้
1.
เป็นคำเดียวโดด ๆ ซึ่งได้ความในตัวเอง
        เช่น ดิน น้ำ ลม ไฟ หญ้า ฟ้า แม่ พ่อ ตา ย่า ยาย ฯลฯ
2.
เป็นคำหลายพยางค์ แต่ถ้าแยกพยางค์เหล่านั้นออกจากกันแล้วจะไม่มีความหมายใช้ในภาษา หรือ ถ้ามีความหมายก็ไม่ใกล้เคียงกับคำที่รวม            พยางค์อยู่ด้วยเลย
        เช่น กระป๋อง กระถาง อาชญา ศิลปะ สายยู กุญแจ ฯลฯ
3.
คำที่มาจากต่างประเทศ ซึ่งแม้จะมีหลายพยางค์ก็จริง
       เช่น เกาเหลา เซ่งจี้ เทนนิส แบดมินตัน โขมด กัลป์ปังหา นาฬิกา อัสดร ฯลฯ
   :
ส่วนคำประสมก็คือ...
คำประสม
         วิธีสร้างคำประสมคือนำคำตั้งแต่สองคำขึ้นไป และเป็นคำที่มีความหมายต่างกันมาประสมกันเป็นคำใหม่โดยใช้คำที่มีลักษณะเด่นเป็นคำหลักหรือเป็นฐาน แล้วใช้คำที่มีลักษณะรองมาขยายไว้ข้างหลัง คำที่เกิดขึ้นใหม่มีความหมายใหม่ตามเค้าของคำเดิม (พวกความหมายตรง) แต่บางทีใช้คำที่มีน้ำหนักความหมายเท่า ๆ กันมาประสมกัน ทำให้เกิดความพิสดารขึ้น (พวกความหมายอุปมาอุปไมย) เช่น
1. พวกความหมายตรง และอุปมา (น้ำหนักคำไม่เท่ากัน)
  · นาม + นาม เช่น
    โรงรถ เรืออวน ขันหมาก     ข้าวหมาก น้ำปลา สวนสัตว์
  ·
นาม + กริยา
    เรือแจว บ้านพัก คานหาม
   กล้วยปิ้ง ยาถ่าย ไข่ทอด
 ·
นาม + วิเศษณ์
    น้ำหวาน แกงจืด ยาดำ
 ใจแคบ ปลาเค็ม หมูหวาน
 ·
กริยา + กริยา
พัดโบก บุกเบิก เรียงพิมพ์
ห่อหมก รวบรวม ร้อยกรอง
·
นาม + บุพบท หรือ สันธาน
วงใน ชั้นบน ของกลาง
ละครนอก หัวต่อ เบี้ยล่าง
·
นาม + ลักษณะนาม หรือ สรรพนาม
ลำไพ่ ต้นหน คุณนาย
ดวงตา เพื่อนฝูง ลูกเธอ
·
วิเศษณ์ + วิเศษณ์
หวานเย็น เปรี้ยวหวาน เขียวหวาน
·
ใช้คำภาษาต่างประเทศประสมกับคำไทย เช่น
เหยือกน้ำ เหยือก เป็นคำภาษาอังกฤษ
โคถึก ถึก เป็นคำภาษาพม่า แปลว่า หนุ่ม
นาปรัง ปรัง เป็นคำภาษาเขมรแปลว่า ฤดูแล้ง
เก๋งจีน จีน เป็นภาษาจีน
พวงหรีด หรีด เป็นคำภาษาอังกฤษ
2. พวกความหมายอุปมาอุปไมย
คำประสมพวกนี้มักมีความหมายเป็นสำนวน และมักนำคำอื่นมาประกอบด้วย เช่น
หน้าตา ประกอบเป็น หน้าเฉย ตาเฉย นับหน้าถือตา เชิดหน้าชูตา
บางคำประสมกันแล้วหาคำอื่นมาประกอบให้สัมผัสคล้องจองตามวิธีของคนเจ้าบทเจ้ากลอนเพื่อให้ได้คำใหม่เป็นสำนวน เช่น
กอดจูบลูบคลำ คู่ผัวตัวเมีย จับมือถือแขน
เย็บปักถักร้อย หน้าใหญ่ใจโต ลูกเล็กเด็กแดง
ให้สังเกตว่าที่ยกมานี้คล้ายวลี ทุกคำในกลุ่มนี้มีความหมายแต่พูดให้คล้องจองกันจนเป็นสำนวนติดปาก แต่มีบางคำดังตัวอย่างต่อไปนี้ ที่บางตัวไม่มีความหมายเพียงแต่เสริมเข้าให้คล้องจองเท่านั้น เช่น
กำเริบเสิบสาน โกหกพกลม ขี้ปดมดเท็จ
รู้จักมักจี่ หลายปีดีดัก ติดสอยห้อยตาม
บางทีซ้ำเสียงตัวหน้าแล้วตามด้วยคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน ทำให้เป็นกลุ่มคำที่เป็นสำนวนขึ้น เช่น ตามมีตามเกิด ตามบุญตามกรรม ขายหน้าขายตา
ติดอกติดใจ กินเลือดกินเนื้อ ฝากเนื้อฝากตัว
การประสมอักษร
การประสมอักษรแทนเสียง มีวิธีประสม 4 แบบ คือ
1.
การประสม 3 ส่วน
2.
การประสม 4 ส่วน
3.
การประสม 4 ส่วนพิเศษ
4.
การประสม 5 ส่วน

1.
การประสม 3 ส่วน ประกอบด้วย พยัญชนะต้น สระ วรรณยุกต์
ตัวอย่าง นี้ - น เป็นพยัญชนะต้น
สระอี เป็นสระ
ไม้โท เป็นวรรณยุกต์
2.
การประสม 4 ส่วน ประกอบด้วย พยัญชนะต้น สระ วรรณยุกต์ และพยัญชนะท้ายพยางค์(ตัวสะกด)
ตัวอย่าง ด้าน - ด เป็นพยัญชนะต้น
สระอา เป็นสระ
ไม้โท เป็นวรรณยุกต์
น เป็นพยัญชนะท้ายพยางค์ (ตัวสะกด)
3.
การประสม 4 ส่วนพิเศษ ประกอบด้วย พยัญชนะต้น สระ วรรณยุกต์ และตัวการันต์
ตัวอย่าง เล่ห์ - ล เป็นพยัญชนะต้น
สระเอ เป็นสระ
ไม้เอก เป็นวรรณยุกต์
ห เป็นตัวการันต์
4.
การประสม 5 ส่วน ประกอบด้วย พยัญชนะต้น สระ วรรณยุกต์ ตัวสะกด และตัวการันต์
ตัวอย่าง ศิลป์ - ศ เป็นพยัญชนะต้น
สระอิ เป็นสระ
ไม่ปรากฏรูปวรรณยุกต์
ล เป็นตัวสะกด
ป เป็นตัวการันต์

การสร้างคำด้วยวิธีประสมคำ
คำไทยเป็นคำโดด หรือคำพยางค์เดียว มีวิธีที่จะสร้างคำใหม่ด้วยการนำคำมาเรียงต่อกันเข้าให้มีความผิดแผกแปลกออกไปจากเดิม แต่การนำคำมาเรียงต่อกันเพื่อสร้างความหมายใหม่ของภาษาไทยมีลักษณะพิเศษออกไปก็คือ ฟังแล้วเห็นภาพหรือรู้จักหน้าที่ได้เลย คำแบบนี้หาได้ยากในภาษาอื่น คำประสมอาจจะมีคำโดดตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปถึง 4 คำมารวมเป็น 1 คำ
ตัวอย่าง
พระ เจ้า แผ่น ดิน ผ้า เช็ด หน้า
รถ ไฟ การ เพาะ ปลูก

การประสมคำไทยแท้
ในภาษาไทยมีคำประสมมาก อีกทั้งแต่ละคำยังบ่งความหมายชัดเจน หางคำยังมีความไพเราะ มีเสียงคล้องจองกันอีกด้วย โดยมีวิธีประสมคือ การเติมคำ
เติมคำ คือ การสร้างคำขึ้นใหม่ ด้วยวิธีเติมคำลงข้างหน้า
1.1
การสร้างคำนาม คือ สร้างคำนามให้เกิดขึ้นใหม่ด้วยวิธีเติมคำชนิดต่าง ๆ ลงข้างหน้า หลังคำนามเดิม
ก. นาม + กริยา
การสร้างคำด้วยการเติมคำกริยาลงข้างหลัง
ตัวอย่าง น้ำ + ใช้ น้ำ + เกิน
น้ำ + ตก น้ำ + ค้าง
ข. นาม + กริยา + นาม
การสร้างคำใหม่ด้วยการเติมคำกริยาและนามลงข้างหลัง
ตัวอย่าง ห้อง + รับประทาน + อาหาร คน + ขาย + ขนม
เครื่อง + ซัก + ผ้า ที่ + เขี่ย + บุหรี่
ค. นาม + นาม
การสร้างคำด้วยการเติมคำนามลงข้างหลังนาม เพื่อขยายนามหน้า
ตัวอย่าง น้ำ + ชา น้ำ + นม น้ำ + ปลา
ฟอง + น้ำ ไอ + น้ำ น้ำ + ตาล
ง. นาม + วิเศษณ์
การสร้างคำด้วยการเติมคำวิเศษณ์ลงข้างหลังนาม รวมเป็นคำเดียว
ตัวอย่าง น้ำ + มัน ของ + เหลว เงิน + สด
1.2
การสร้างคำกริยา คือ การสร้างคำกริยาขึ้นโดยเติมคำข้างหลังให้เป็นคำแสดงอาการอีกอย่างหนึ่ง
ก. กริยา + นาม
การสร้างคำด้วยการเติมนามลงข้างหลังกริยา ถือเป็นคำกริยา
ตัวอย่าง เข้า + ใจ ตั้ง + ต้น
ข. กริยา + กริยา (หรือวิเศษณ์ + วิเศษณ์ ในเมื่อวิเศษณ์ทำหน้าที่กริยา)
ตัวอย่าง ขน + ส่ง สวย + งาม
เปรี้ยว + หวาน เปลี่ยน + แปลง
ค. นาม + วิเศษณ์
การสร้างคำด้วยการเติมวิเศษณ์ลงข้างหลังนามรวมกันเป็นคำเดียวที่ทำหน้าที่กริยาหรือวิเศษณ์
ตัวอย่าง ใจ + กว้าง ปาก + หวาน หัว + แข็ง

คำซ้อน
คำซ้อนที่มีเสียงพยัญชนะเดียวกัน ได้แก่ วนเวียน ชุกชุม ร่อแร่ ฯลฯ
คำซ้อนที่ใช้เสียงตรงข้าม ได้แก่ หนักเบา เป็นตาย มากน้อย ฯลฯ
คำซ้อนที่ใช้คำความหมายเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ได้แก่ บ้านเรือน อ้วนพี มากมาย ฯลฯ
คำซ้อน 4 คำ ที่มีคำที่ 1 และคำที่ 3 เป็นคำ ๆ เดียวกัน ได้แก่ ผู้หลักผู้ใหญ่ ร้อนอกร้อนใจ เข้าได้เข้าไป ฯลฯ
คำซ้อนที่เป็นกลุ่มคำมีเสียงสัมผัส ได้แก่ เก็บหอมรอมริบ ข้าวยากหมากแพง รู้จักมักคุ้น ฯลฯ
ความมุ่งหมายของการสร้างคำซ้อน
1.
เพื่อเน้นความให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยความหมายยังคงเดิม เช่น ใหม่เอี่ยม ละเอียดลออ เสื่อสาด
2.
ทำให้เกิดความหมายใหม่ในเชิงอุปมาอุปไมย เช่น ตัดสิน เบิกบาน เกี่ยวข้อง
:
แล้วเธอรู้มั้ยว่าคำซ้อนเกิดจากอะไร ก็เกิดจากการซ้อน
หมายถึง การสร้างคำอีกรูปแบบหนึ่ง มีวิธีการเช่นเดียวกับการประสมคำ จึงอนุโลมให้เป็นคำประสมได้ ความแตกต่างระหว่างคำประสมทั่วไปกับคำซ้อน คือ คำซ้อนจะสร้างคำโดยนำคำที่มีความหมายคู่กันหรือใกล้เคียงกันมาซ้อนกัน คำที่มาซ้อนกันจะทำหน้าที่ขยายและไขความซึ่งกันและกันและทำให้เสียงกลมกลืนกันด้วย เช่น
การซ้อนคำ
เป็นการนำคำที่มีความหมายเหมือนกัน หรือคล้ายกัน หรือประเภทเดียวกันมาเรียงซ้อนกัน เมื่อซ้อนคำแล้วทำให้เกิดความหมายใหม่ขึ้น แต่ยังคงเค้าความหมายเดิมอยู่ หรือความหมายอาจไม่เปลี่ยนไป แต่ความหมายของคำหน้าจะชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น บ้านเรือน ทรัพย์สิน คับแคบ เป็นต้น คำที่เกิดจากซ้อนคำเช่นนี้เรียกว่าซ้อนคำ
1.
คำที่ประกอบขึ้นด้วยคำ 2 คำขึ้นไปที่มีความหมายทำนองเดียวกัน เช่น จิตใจ ถ้วยชาม ข้าทาส ขับไล่ ขับกล่อม ค่างวด ฆ่าแกง หยูกยา เยียวยา แก่นสาร ทอดทิ้ง ท้วงติง แก้ไข ราบเรียบ เหนื่อยหน่าย ทำมาค้าขาย ชั่วนาตาปี
2.
คำที่ประกอบขึ้นด้วยคำ 2 คำขึ้นไปที่มีความหมายตรงกันข้าม เช่น หอมเหม็น ถูกแพง หนักเบา ยากง่าย มีจน ถูกผิด ชั่วดีมีจน หน้าไหว้หลังหลอก
3.
คำซ้อนที่ประกอบด้วยคำ 2 คำขึ้นไปที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะเสียงเดียวกันหรือมีเสียงสระเข้าคู่กัน เช่น เกะกะ เปะปะ รุ่งริ่ง โยกเยก กรอบแกรบ กรีดกราด ฟิดฟาด มากมายก่ายกอง อีลุ่ยฉุยแฉก
:
หรืออาจจำแนกออกได้เป็น 2 ชนิดตามหน้าที่ ได้แก่
1.
คำซ้อนเพื่อความหมาย
2.
คำซ้อนเพื่อเสียง
วิธีซ้อนคำเพื่อเสียง
คำซ้อนเพื่อเสียง เป็นการนำคำที่มีความหมายคล้ายคลึงกันมาซ้อนกัน เพื่อให้ออกเสียงง่ายขึ้น และมีเสียงคล้องจองกัน ทำให้เกิดความไพเราะขึ้น คำซ้อนเพื่อเสียงนี้บางทีเรียกว่าคำคู่ หรือคำควบคู่
นำคำที่มีพยัญชนะต้นเดียวกัน แต่แตกต่างกันที่เสียงสระ นำมาซ้อนหรือควบคู่กัน เช่น
เร่อร่า เซ่อซ่า อ้อแอ้ จู้จี้
เงอะงะ จอแจ ร่อแร่ ชิงช้า
จริงจัง ทึกทัก หมองหมาง ตึงตัง
นำคำแรกที่มีความหมายมาซ้อนกับคำหลัง ซึ่งไม่มีความหมาย เพื่อให้คล้องจองและออกเสียงได้สะดวก โดยเสริมคำข้างหน้าหรือข้างหลังก็ได้ ทำให้เน้นความเน้นเสียงได้หนักแน่น โดยมากใช้ในคำพูด เช่น
กวาดแกวด กินแกน เดินแดน
มองเมิง ดีเด่ ไปเลย
นำคำที่มีพยัญชนะต้นต่างกันแต่เสียงสระเดียวมาซ้อนกันหรือควบคู่กัน เช่น
เบ้อเร่อ แร้นแค้น จิ้มลิ้ม
ออมชอม อ้างว้าง เรื่อยเจื้อย ราบคาบ
นำคำที่มีพยัญชนะต้นเหมือนกัน สระเสียงเดียวกัน แต่ตัวสะกดต่างกันมาซ้อนกัน หรือควบคู่กัน เช่น
ลักลั่น อัดอั้น หย็อกหย็อย
คำซ้อนบางคำ ใช้คำที่มีความหมายใกล้เคียงมาซ้อนกันและเพิ่มพยางค์เพื่อให้ออกเสียงสมดุลกัน เช่น
ขโมยโจร เป็น ขโมยขโจร
สะกิดเกา เป็น สะกิดสะเกา
จมูกปาก เป็น จมูกปาก
คำซ้อนบางคำอาจจะเป็นคำซ้อนที่เป็นคำคู่ ซึ่งมี 4 คำ และมีสัมผัสคู่กลางหรือคำที่ 1 และคำที่ 3 ซ้ำกัน คำซ้อนในลักษณะนี้เป็นสำนวนไทย ความหมายของคำจะปรากฏที่คำหน้าหรือคำท้าย หรือปรากฏที่คำข้างหน้า 2 คำ ส่วนคำท้าย 2 ตัว ไม่ปรากฏความหมาย